สิทธิบัตร คือ เอกสารที่ออกโดยรัฐบาลให้แก่ผู้ประดิษฐ์ หรือผู้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ซึ่งให้สิทธิพิเศษในการใช้ประโยชน์จากสิ่งประดิษฐ์นั้นเป็นระยะเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่ระยะเวลาที่กำหนดจะเป็น 20 ปีนับจากวันที่ยื่นคำขอสิทธิบัตร สิทธิบัตรจะคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เช่น เครื่องจักร กระบวนการ การออกแบบทางอุตสาหกรรม สูตรทางเคมี หรือองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีต่างๆ
ประเภทของสิทธิบัตร มีกี่ประเภท จดสิทธิบัตรอะไรได้บ้าง
ภายใต้กฎหมายแห่งราชอาณาจักรไทย สิทธิบัตรสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่
- สิทธิบัตรการประดิษฐ์ ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธี สิทธิบัตรการประดิษฐ์มีอายุ 20 ปี นับจากวันที่ยื่นจดสิทธิบัตร และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น
- อนุสิทธิบัตร ปกป้องการประดิษฐ์ที่มีการใช้งานหรือมีประโยชน์ใช้สอย การประดิษฐ์อาจรวมถึง ลักษณะ องค์ประกอบ กลไก โครงสร้าง กระบวนการ หรือ กรรมวิธีอนุสิทธิบัตรมีอายุ 6 ปี นับจากวันที่ยื่นจด และคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น เจ้าของสิทธิสามารถยื่นต่ออายุได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี แต่ทั้งหมดไม่เกิน 10 ปี หลักเกณฑ์ ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น จะไม่ถูกนำมาพิจารณาในการตรวจสอบคำขอรับอนุสิทธิบัตร เหมาะสมกับสิ่งประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาหรือมีการปรับปรุงเล็กน้อย
- สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ คุ้มครองรูปลักษณ์ ลวดลาย หรือสีสันของงานออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น (ไม่ปกป้องในแง่ของการใช้งานหรือประโยชน์ใช้สอย) สิทธิบัตรการออกแบบมีอายุ 10 ปี นับตั้งแต่วันที่ยื่นจด และได้รับการคุ้มครองในประเทศที่ยื่นจดเท่านั้น
ทำไมต้องมีการจดสิทธิบัตร ?
การจดสิทธิบัตรจะช่วยยืนยันได้ว่าใครเป็นผู้คิดค้นไอเดียนั้น ๆ ขึ้นมา อีกทั้งยังสามารถสร้างหรือเพิ่มมูลค่าให้กับสิ่งประดิษฐ์ของเราเพื่อต่อยอดไปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ได้ในอนาคต และโอกาสในการขายสิทธิ หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีในอนาคตอีกด้วย
ข้อดีของการจดสิทธิบัตรไม่ได้มีเพียงแค่การปกป้องคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ และการออกแบบผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่หากยังสามารถเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า และบริการได้เป็นอย่างดี นอกเหนือจากการจดสิทธิบัตรสำหรับสิ่งประดิษฐ์แล้ว ยังมีการจดสิทธิบัตรสำหรับกระบวนการผลิตสินค้า การจดสิทธิบัตรสำหรับการออกแบบสินค้า การจดสิทธิบัตรสำหรับสูตรการผลิต
ที่มา :